
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
ระบบการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง โปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการฐานข้อมูลในการสร้าง การเรียกใช้ การปรับปรุงฐานข้อมูล เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับระบบฐานข้อมูล โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Oracle, My SQL หรือ SQL Sever
รูปแสดงการทำงานของDBMS เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับระบบฐานข้อมูล
องค์ประกอบองระบบการจัดการฐานข้อมูล
พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) มีหน้าที่อธิบายถึงรายละเอียดของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลและฟิลด์ของข้อมูลทั้งหมด ทำให้ผู้ดูแลฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบรูปแบบ ชนิดข้อมูลตามที่กำหนดไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ชื่อฟิลด์ ความหมาย ชนิดของข้อมูล กำหนดประเภทคีย์
เครื่องมืออำนวยความสะดวก (Utility)
หมายถึง โปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบำรุงรักษาข้อมูลในฐานข้อมูลได้ เช่น การสร้าง ปรับปรุงโครงสร้างข้อมูลในแฟ้ม โปรแกรมจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับระบบการจัดการฐานข้อมูลใช้ได้ง่ายขึ้น
ภาษาระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS Language)
4ภาษาที่ใช้กำหนดโครงสร้างหรือนิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) เป็นภาษาที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล ซึ่ง DBA เป็นผู้กำหนดไว้ ผลจากการแปลงเป็นภาษา DDL แล้วจะทำให้ได้ตารางที่จัดเก็บพจนานุกรม
4ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกับ DBMS เพื่อดึงข้อมูล ค้นหาข้อมูล แก้ไข หรือลบข้อมูล
4ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล (Data Control Language : DCL) เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้งานหลายคนเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน
เครื่องมือสร้างรายงาน (Report Generator)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่สร้างรายงานและแสดงข้อมูลทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลได้ เช่น กำหนดหัวกระดาษ ท้ายกระดาษ วันที่พิมพ์ เป็นต้น
การรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล (Access Security)
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ดูแลฐานข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ในองค์กร ได้ เช่น การกำหนดสิทธิ์การใช้ข้อมูล การป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบงาน
การกู้ระบบ (System Recovery)
ซอฟต์แวร์ในโปรแกรมระบบการจัดการฐานข้อมูลจะต้องมีเครื่องมือที่ใช้กู้คืนระบบ เพื่อช่วยในระบบฐานข้อมูลที่มีความขัดข้องหรือเกิดความเสียหายให้กู้ระบบคืนได้
หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
· ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจได้
· ทำหน้าที่นำคำสั่งที่ได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) การเพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
· ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยตรวจสอบว่าคำสั่งใดทำงานได้ คำสั่งใดทำงานไม่ได้ หรือจัดทำระบบสำรองและการกู้คืนให้กลับสภาพการทำงานสู่สภาวะปกติ
· ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง
· ทำหน้าที่จัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในฐานข้อมูลไว้ใน Data Dictionary รายละเอียดเหล่านี้เรียกว่า “คำอธิบายข้อมูล (Metadata)”
· ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่น ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้ระบบ (Concurrency Control) ควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล (Integrity Control)
· ทำหน้าที่ประสานงานกับระบบปฏิบัติการที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถเรียกใช้ แก้ไขข้อมูล หรือออกรายงานกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
ประโยชน์ของฐานข้อมูล
• สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy)
• หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล (Data Inconsistency)
• หน่วยงานที่ใช้ข้อมูลเดียวกัน สามารถใช้ร่วมกันได้
• สามารถกำหนดให้ข้อมูลมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้
• สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้
• สามารถรักษาความถูกต้องของข้อมูลได้
• สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้ข้อมูลในหลายรูปแบบ
• ความเป็นอิสระระหว่างโปรแกรมประยุกต์และข้อมูล
ข้อเสียของการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล
1) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบการจัดการฐานข้อมูลค่อยข้างสูง
2) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการดูแลรักษาฐานข้อมูล
3) มีความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ
4) ความซับซ้อนในการทำงานและการควบคุมข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น